รมต.สธ.ประกาศจุดยืนว่า "กระทรวงสาธารณสุขไม่สนับสนุนให้บริโภคบุหรี่ไฟฟ้า"



คอลัมน์ : จับกระแส

รมต.สธ.ประกาศจุดยืนว่า

"กระทรวงสาธารณสุขไม่สนับสนุนให้บริโภคบุหรี่ไฟฟ้า

สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และภาคีเครือข่ายในการรณรงค์เพื่อการควบคุมยาสูบต่างๆ เข้าแสดงความขอบคุณท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี สธ. ยังคงเจตนารมย์เหมือนเดิมว่า "ไม่สนับสนุนให้สูบบุหรี่ไฟฟ้า

ศ.เกีรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวว่า

ต้องขอขอบคุณท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการประทรวงสาธารณสุข ที่ให้ความกรุณาห่วงใยสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ในปัจจุบันหลายประเทศได้ออกกฏหมายห้ามนำเข้าและห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าระบาดอย่างหนักในเด็กนักเรียน โดยอัตราการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมปลายพุ่งสูงถึง 27.5% เทียบเท่ากับอัตราการสูบบุหรี่ธรรมดา ประมาณ 6% เท่านั้น ซึ่งหากเปิดให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าเสรีในประเทศไทย มีความเสี่ยงสูงที่เยาวชนไทยจะเข้าไปเสพติดบุหรี่ไฟฟ้า และเมื่อติดแล้ว ยากที่จะเลิกสูบ เนื่องจากนิโคตินเลิกยากมากเท่าเฮโรอีนตามรายงานของกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า

การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ ถือเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาที่ป้องกันได้ ที่สำคัญที่สุดของคนไทย ล่าสุดสหพันธ์เครือข่ายองค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอดนานาชาติ ออกรายงานแสดงจุดยืนว่า การห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกนโยบายืที่ดีที่สุด สำหรับประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง ผู้สูบบุหรี่ที่หันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะยังสูบทั้งบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้า แต่ปัญหาด้านลบของบุหรี่ไฟฟ้าคือ ทำให้เยาวชนที่ไม่สูบบุหรี่เข้ามาสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก และส่วนหนึ่งพัฒนาต่อไปสูบบุหรี่ธรรมดา มาตรการควบคุมก็ยังไม่พร้อมและมีปีัญหามาก หากเปิดให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าจะยิ่งแย่งชิงทรัพยากรในการควบคุมยาสูบที่ไม่พออยู่แล้ว ทำให้การควบคุมยาสูบยิ่งอ่อนแอมากขึ้น สหพันธ์เครือข่ายองค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอดนานาชาติได้วิเคราะห์หล้กฐานต่างๆ และสรุปว่า ในประเทศรายได้ปานกลางผลเสียจากบุหรี่ไฟฟ้ามีมากกว่าผลดี การห้ามขายของประเทศไทย จึงเป็นทางเลือกที่สอดคล้องกัยข้อเสนอแนะของสหพันธ์ฯ

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า

ขอย้ำถึงความเสี่ยงของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า จะมีผลต่อการลดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงเป็น COVID 19 เพราะมีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่า ในไอของบุหรี่ไฟฟ้ามีสารโลหะหนัก เช่น นิเกิล โครเมียม ที่มีพิษต่อปอด และบุหรี่ไฟฟ้ายังมีการปลดปล่อยอนุภาคขนาดเล็ก PM 2.5 ที่แทรกซึมเข้าร่างกาย เป็นการสะสมพิษไปก่ออันตรายในอวัยวะต่างๆ ได้ทั่วร่างกาย

จึงขอขอบคุณท่าน อนุทิน ชาญวีรกูล ที่ได้แสดงจุดยืนอันชัดเจนว่า กระทรวงสาธารณสุขไม่สนับสนุนให้บริโภคบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อสุขภาพของเยาวชนและคนไทยทั้งประเทศ...

Smartnews เผยแพร่ 3 กรกฎาคม 2563

topic

  • หนุนรุ่นจิ๋ว ช่วยรุ่นใหญ่ สกัดควันร้ายบุหรี่
  • เลิกดูด (บุหรี่) หันมาดื่ม (นม)
  • เข้าพรรษานี้ โอกาสดีๆ หยุดทำร้าย ทำลายปอด...ด้วยการเลิกบุหรี่
  • "การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16" 24-26 กรกฎาคมนี้
  • ประเพณีแห่เทียน เข้าพรรษางดบุหรี่ อิ่มบุญ สุขภาพดี ชีวีมีสุข ไร้ควันบุหรี่
  • ส.ทร ยกพลขึ้นบก ร่วมปกป้อง Gen Z : ไม่สูบ
  • รณรงค์สร้างความเข้าใจต่อการปฏิบัติตามกฎหมายใหม่
  • โพลล์ชี้ พ.ร.บ.ยาสูบใหม่ เอานักสูบหน้าใหม่อยู่หรือไม่อยู่ ?
  • สื่อกองทัพบก ภาค 2 และภาค 4 ร่วมป้องกันนักสูบหน้าใหม่
  • ครูวิทยากร บทบาทสำคัญเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่
  • Gen Z Academy รู้ เข้าใจ กฎหมายและเฝ้าระวัง สู่การถ่ายทอดและปฏิบัติจริง
  • สื่ออีสานร่วมเฮ็ดงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จับมือ 17 องค์กรสื่อสารมวลชนภาคเหนือ ขับเคลื่อนงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
  • 8 อ 12 ท "สร้างภูมิคุ้มกันและบำรุงปอด" ให้แข็งแรง
  • เคล็ดลับช่วงกักตัว ดูแลตัวเองเสริมภูมิคุ้มกันโควิด-19
  • สานฝัน ครีเอเตอร์หน้าใหม่ สู่ความร่วมมือสร้างสังคมปลอดบุหรี่สู้โควิด
  • คผยจ. พังงา ประชุมติดตามสถานการณ์การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  • 7 ประโยชน์สำคัญของ “สารต้านอนุมูลอิสระ”
  • สถาบันยุวทัศน์ฯ ลงชุมชน ลุยสร้างความเข้าใจพิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า
  • รมต.สธ.ประกาศจุดยืนว่า "กระทรวงสาธารณสุขไม่สนับสนุนให้บริโภคบุหรี่ไฟฟ้า"
  • กลยุทธ์การตลาดบุหรี่ ไล่ล่าวัยรุ่นเป็นฐานลูกค้าใหม่